สถิติ
เปิดเว็บ | 12/09/2011 |
อัพเดท | 16/12/2019 |
ผู้เข้าชม | 342,082 |
เปิดเพจ | 586,662 |
สินค้าทั้งหมด | 30 |
บริการ
ลิ้งก์ตัวอักษร
สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่(สองคลอง)
ข้อมูลสินค้า
-
รหัสสินค้า
810
-
เข้าชม
70,849 ครั้ง
-
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
27/10/2019 04:34
-
รายละเอียดสินค้า
สมเด็จสองคลอง (Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh,
B.E. 2410-2415)
แท้ที่จริงก็คือสมเด็จวัดระฆังนั่นเอง เหตุใดจึงเรียกสมเด็จสองคลองพ.ศ.๒๔๑๓ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จๆ ร่วมกับ เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล ธนโกเศศ คหบดีผู้มั่งคังในย่านบางขุนพรหม ท่านปรารถนาที่จะสร้างพระเพื่อนำไปบรรจุในเจดีย์วัดบางขุนพรหมเพื่อเป็นการ สืบทอดศาสนา
ดังนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านได้สั่งให้นำเอาพระสมเด็จวัด ระฆังฯจำ นวนหนึ่งที่สร้างเสร็จแล้วมาร่วมบรรจุกรุด้วย และมีพระสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยจำนวนหนึ่งร่วมบรรจุกรุบางขุนพรหมลงไป ด้วย แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ด้วยสาเหตุนี้ จึงต้องมีการทำเอกลักษณ์ไว้บนองค์พระเพื่อแยกให้รู้ว่าพระชุดนี้เป็นพระที่มาจากวัดระฆังฯ จึงทำการลงรักแล้วปิดทองหนึ่งแผ่นก่อนนำบรรจุกรุ แต่พระส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยสวยเพราะทำแบบรีบๆ และพระเป็นพระที่เหลือ มาจากทำครั้งใหญ่ปี ๒๔๑๑ ซึ่งพระที่สวยงามเลอโฉมได้แจกจ่ายให้กับบุคคลทั่วไป เป็นส่วนใหญ่แล้ว
พระสมเด็จ (สองคลอง) ก็คือพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์แบบพิมพ์วัดระฆังฯทุกอย่าง และยังปลุกเสกที่วัดระฆังฯ แต่นำมาฝากกรุวัดบางขุนพรหม
ลักษณะของพระสองคลอง ส่วนใหญ่มีลักษณะ ก็คือ เนื้อละเอียดแกร่งสีขาวเหลือง ออกโซนแก่ปูนเปลือกหอย มวลสารน้อย บางองค์มวลสารมากแต่พบน้อย มีคราบกรุหรือสารเคลือบผิวพร้อมปิดทองหนึ่งแผ่น
ลักษณะทองทับกรุ กรุทับทอง คือ การที่พระสมเด็จถูกบรรจุอยู่ในกรุนั้น องค์พระจะเจอทั้งความร้อนเย็น และ ความชื้นประจวบเหมาะกับเหตุน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ เมื่อ ปี ๒๔๘๕ ซึ่งท่วมเป็นเวลานาน และการลักขโมยพระออกจากกรุโดยการใช้ดินเหนียวผูกติดกับเอ็นแล้วทิ้งลงไปใน เจดีย์ และยังใช้น้ำเทลงไปในเจดีย์เลยทำให้พระกระเด็นขึ้นมาติดก้อนดินเหนียวที่ผูก ไว้ น้ำที่ได้เทลงไปนั้นก็ลงไปขังอยู่ใต้ฐานเจดีย์ ดังนั้นจึงทำให้พระส่วนหนึ่งต้องแช่อยู่ในน้ำเป็น เวลานาน จึงทำให้พระบางส่วนเสียหาย และบางส่วนมี คราบกรุจับแน่นองค์พระ จากสาเหตุนี้จึงทำให้เนื้อพระบางองค์ หรือบางส่วน ฟูและผุกร่อนมีน้ำหนักเบา พระที่นำมาจากวัดระฆังฯ นั้น ไม่ได้มีเฉพาะพระที่สร้างเสร็จไว้ก่อนแล้วเท่านั้น ยังคงพบพระที่สร้างมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ดูได้จาก เนื้อของพระที่ค่อนข้างแก่ปูนเนื้อแกร่งละเอียด มา จากความเจาะจงตั้งใจทำ ให้เนื้อพระออกมาแก่ปูนและแกร่ง เพราะรู้ว่าจะต้องนำไปบรรจุกรุ ซึ่งก็รู้อยู่แล้วว่าสภาพอากาศภายในเจดีย์นั้นมีทั้งร้อนเย็น ดังนั้นจึงต้องจะสร้างพระที่มีเนื้อที่แกร่งละเอียดและทนทานต่อสภาพอากาศที่ ไม่คงที่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ ดังนั้นเนื้อพระสองคลองจึงแตกต่างจากเนื้อมาตรฐานของวัดระฆังฯที่มากไปด้วยมวลสาร แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยทีเดียว เพราะพระไม่ได้มีเพียงองค์สององค์แต่มีมาก คงมีปนเปกันไปทั้งมวลสารมากมวลสารน้อย
พิมข้างบนสภาพเก่าสึกจากการใช้ คาดว่าคงไม่ได้บรรจุกรุ มวลสารลอยเด่น องค์พระแตก ข้างหลังมีรอยปาดขนาดใหญ่ และเป็นพิมพ์นิยม ของท่านหลวง วิจารณ์ เจียรนัย
---------------------------------------------------------------------------------------------------พระสมเด็จ(Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh,
B.E. 2410-2415) อีกองค์ครับ พระสมเด็จ ลงรักดำและร่องรอยการปิดทอง คาดว่าน่าจะไม่ได้บรรจุกรุ โดยลักษณะพิมพ์ ของหลวงสิทธิ โยธารักษ์ สภาพแก่ปูน มวลสารน้อย ทองที่ปิด อาจจะโดนน้ำ ทำให้เหลือประปราย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระสมเด็จ(Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh,
B.E. 2410-2415)องค์นี้ เป็นสมเด็จสองคลอง พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม เป็นพิมพ์ของท่าน หลวงวิจารณ์ สภาพเกราะกรังบอกถึงร่อยรอยของพระกรุ รอยทองเปลวที่ติดอยู่ประปราย กรอบกระจกเลื่อนตั้งแต่ตอนกดพิมพ์ ร่องรอยความเก่าบ่งบอกว่าเป็นพระแท้ตลอดกาล
(Somdej Rakhang Temple by Somdej Buddhajarn Toh,
B.E. 2410-2415)
อีกองค์ครับสำกรับพระสองคอลง วัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เอกลักษณ์ท่านหลวง วิจารณ์ เจียรนัย
----------------------------------------------------------------------------------------------
สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง สัจธรรมพระเครื่อง